Thursday, November 6, 2014

คาถาบูชาพระไพรีพินาศ

คาถาบูชาพระไพรีพินาศ 


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (ว่า 3 จบ)

อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ สุจิรัง ปะรินิพพุโต

คุเณหิ ธัมมาโนทานิ ปาระมีหิ จะ ทิสสะติ

ยาวะชีวัง อะหัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณังคะโต

ปูเชมิ ระตะนัตตะยัง ธัมมัง จะรามิ โสตถินา



Sunday, January 17, 2010

อาชีพ Chef




บังเอิญได้รู้จักเพื่อนที่อยู่วงการอาหาร ซึ่งตำแหน่ง Chef มีเรียกหลายชื่อมาก แล้วก็เรียกทับศัพท์ตำแหน่งไปเลย ก็เลยลองไปหารายละเอียดแต่ละชื่อ ทางเดินแต่ละก้าวของเค้าน่าสนใจนะ ดูซิ๊มีลำดับขั้น และหน้าที่ยังไง ...


ลำดับขั้น(ตำแหน่ง) Chef

The ranks of chefs are varied depending on the establishment you work in. Normally, they all start from

1st year apprentice chef (just started chef course at school with no exp.)

2nd year apprentice chef (a bit more exp.)

3rd year apprentice chef (a bit more exp than 2nd)

4th year apprentice chef (qualifying soon)

Once completed the 4th year, then you are qualified, which you will be called "Commis Chef" (reads "commi")

Then, from there it would be "Demi Chef", "Chef de Partie", "Sous Chef", and then "Executive/Head Chef"

If you work in a big establishment like hotels or big restaurants,
it could be something in between like "
Demi Chef De Partie",
"
Junior Sous Chef", "Senior Chef De Partie" and the list goes on.

As the person above has mentioned, it all depends on where you work as to how many years to be promoted. It's easier to get promoted when you work in a small kitchen, and vice versa.

The bigger the kitchen it is, the more kitchen brigades there are within the place.




ลำดับขั้นของ chef

Apprentice chef = inexperience chef( student from school)
first year = apprentice chef 1st
second year = apprentice chef 2nd



chef ฝึกหัดแล้ว จะขึ้นเป็น Commis , Chef de partie, Sous Chef และ

head chef นี่ต้องใช้ประสบการณ์ทั้งหมดกี่ปี มีเกณฑ์อะไรบอกไว้ไหม
= ไม่มีอะไรตายตัว อยู่ที่โอกาส และ จังหวะ



ตำแหน่งระดับขั้นนั้นแต่ละที่ก็จะแตกต่างกันไปตามขนาดของโรงแรม โรงแรมใหญ่ ๆ ก็จะแบ่งเป็นหลายตำแหน่งมากขึ้น เช่น โรงแรมที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก แต่ละทีก็ไม่เหมือนกันอีก ยกตัวอย่าง Sheraton Hotel มี kitchen helper ซึ่งก็เหมือน APPRENTICE CHEF ทำประมาณ 3 ปีก็จะได้เลื่อนไปเป็น commis chef ซึ่ง commis chef ก็จะมีแบ่งออกเป็น 4 ระดับ (ระดับ 4 ต่ำสุด ไล่ไปหา 1)
commis 1 ,commis 2 ,commis 3 ,commis 4


ต่อด้วย Demi chef
ก็เป็นรองหัวหน้าครัว อาจจะมีหลายคน 3-4 คน ตามกะ เช้า 2 คน - เย็น 2 คน อะไรทำนองนี้


ต่อด้วย
Chef de partie คือ หัวหน้าครัวแต่ละประเภททุกตำแหน่งไม่ได้คุมทุกครัว
แต่ละครัวก็มีทุกตำแหน่งที่ว่ามารับผิดชอบครัวตัวเอง
Chef de partie ก็จะแบ่งเป็น 2 senior
Chef de partie กับ Junior Chef de partie
ต่อด้วย sous chef
ต่อด้วย Executive sous chef
ต่อด้วย Executive chef



เกณฑ์กำหนดว่าต้องทำกี่ปีถึงจะเลื่อนตำแหน่ง มันอยู่ที่โอกาสด้วย ถ้าในที่ทำงานมีตำแหน่งว่างก็ขอหัวหน้าโปรโมทไปยัง Executive chef เพื่อเลื่อนตำแหน่งให้ แต่ถ้าไม่ว่าง ไม่มีคนลาออกตำแหน่งก็ไม่ว่างก็ต้องอยู่ตำแหน่งเดิมไปเรื่อย ๆ บางคน อยู่ commis 4 ถึง 4 ปีบางคนทำมาจนแก่ยังอยู่ที่ demi chef เพราะอยู่ที่เดิมตลอด บางคนก็เลยใช้วิธีย้ายโรงแรมเพื่อไปหาตำแหน่งที่สูงกว่า หรือโรงแรมที่มีดาวมากกว่า ทุกครั้งที่ย้ายต้องได้ตำแหน่งที่สูงกว่าเดิมหรือไม่ก็โรงแรมที่ดาวสูงกว่าเดิมแต่ตำแหน่งเดิม แต่ละที่ก็ต้องทำให้เกินกว่า 1 ปี เพราะบางโรงแรมอย่าง Novotel จะมีระบบที่ว่าทำงานครบ 1 ปีขึ้นไปสามารถย้ายไปทำสาขาใดก็ได้ทั่วโลกของเครือ Novotel แล้วอีกอย่างก็ทำให้ดูว่าเราไม่ย้ายที่ทำงานบ่อยด้วย



ลำดับขั้น(ตำแหน่ง) Chef
เริ่มจาก


  • Cook Helper
  • Commis III
  • Commis II
  • Commis I
  • Demi Chef de partie
  • Chef de partie
  • Chef De Cuisine or Outlet Chef ,...Thai Chef, Japenese Chef, ...
  • Juneir Sous Chef
  • Sous Chef
  • Ex. Sous Chef
  • Ex. Chef


บางโรงแรม มีไม่ถึง แต่บางโรงแรมมีละเอียดกว่านี้



แต่ละชื่อตำแหน่งทำหน้าที่อะไร

The Chef De Cuisine
เป็นผู้มีตำแหน่งสูงสุด ดูภาพรวมของเมนูอาหาร
และควบคุมกำหนดทิศทางว่าจะให้ไปในทิศทางใด

An Executive Chef
ทำงานภายใต้ Chef De Cuisine ทำหน้าที่คิดเมนู ควบคุมค่าใช้จ่าย
รวมไปถึงการบริหารภายใต้หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ

Head Chef
เป็นคนที่คอยทำงานในหน่วยเล็กๆ ปฏิบัติการตามภาระกิจ
ที่ได้รับจาก Chef de cuisine และ Executive chef

Sous Chef
เป็นคนคอยควบคุมมาตราฐานของอาหารว่าได้ตาม
ที่ตั้งไว้หรือไม่และส่งตรงตามเวลาที่ได้วางแผนไว้

Chef De Partie
คือ chef ที่มาจากต่างประเทศเพื่อทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นพิเศษ

Pastry Chef
มีหน้าที่ส่งรายงานถึง Chef de cuisine และ Executive chef โดยตรง
Pastry Chef ทำอะไรบ้าง
ประชุมวางแผนทิศทาง concept ให้ไปใน
ทิศทางเดียวกันกับร้านอาหาร ทดลองสูตรขนมใหม่ๆ
สั่งวัตถุดิบมาเพื่อทดลองให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับร้าน
ทำงบประมาณเพื่อเบิกซื้อกับฝ่ายบัญชี
และอีกมากมาย




อาชีพ Chef เป็นอาชีพที่มีเสน่ห์เพราะว่าการทำอาหารเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง และแสดงถึงอารมณ์ของผู้ทำอาหารว่าเขาต้องการมอบความสุขให้ผู้ชิมได้รับถึงรสชาติที่มีความสุขเช่นกัน แต่ขณะเดี๋ยวกันอาชีพนี้ก็ต้องอาศัยความอดทน อดกลั้น ความมีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและความมีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน ถึงไม่ได้เก่งแต่ก้ต้องขยันหมั่นศึกษาหาความรู้ในการพัฒนาอาหารให้มีรูปแบบที่หลากหลายเช่นกัน ฉะนั้นอย่างท้อแท้ในการทำอาชีพนี้แต่ให้ทำอย่างมีความสุข...




.

.
.
.
.
.
.



Saturday, January 9, 2010

ภาวนา

....ในบุญกริริยาวัตถุทั้งหมด ภาวนามัย หรือ บุญที่เกิดจากการภาวนา เป็นบุญใหญ่ที่สุด มีอานิสงส์มากที่สุด เพราะแม้ได้สมาธิ เพียงขั้นต้นจากการภาวนา เป็นปฐมฌาน ถ้าดับจิตในตอนนั้น จะไปเกิดเป็นพรหม มีความสุขที่เลอเลิศ และมีอายุทิพย์ยาวนานเป็นกัป ยืนยาว กว่าเทวดามาก อย่างประมาณไม่ได้


....คำว่า ภาวนา แปลว่า การทำให้เกิดขึ้น การเจริญหรือการบำเพ็ญ แต่ความหมายที่ดีที่สุด น่าจะเป็นแปลว่า การฝึกอบรมจิต ฝึกอบรมจิตให้เกิดอะไร ให้เกิดความสงบ หรือ อบรมจิตให้เกิดปัญญารู้แจ้งความจริงของชีวิตจนพ้นทุกข์

....การอบรมจิตให้เกิดความสงบ มีชื่อว่า สมถภาวนา แปลว่า อบรมให้จิตเป็นสมาธิ (คำว่า ความสงบ สมาธิ และสมถะ มีความหมายเดียวกัน ให้แทนกันได้) การอบรมจิตให้เกิดปัญญาที่แรงกล้าจน สามารถตัดอวิชชา และทำให้พ้นทุกข์บรรลุธรรมได้ เรียกว่า วิปัสสนา ภาวนา (คำว่า ปัญญา หรือวิปัสสนา ใช้แทนกันได้ เช่นกัน) ดังนั้น คำว่า สมาธิ และปัญญา ที่ทำให้พ้นทุกข์ได้นี้ อาจแทนเป็นภาษาธรรมได้ว่า สมถะ และ วิปัสสนา

....การทำให้จิตเป็นสมาธิ (สมถภาวนา) มีได้หลายวิธี เช่น การเพ่งกสิณ เมื่อจิตเป็นสมาธิสงบ ตั้งมั่นดีแล้ว ถือเป็นจิตที่คู่ควรแก่งาน คือควารจะน้อมจิตไปพิจารณา ไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยงของสังขารว่า
เป็น อนิจจัง คือไม่เที่ยง
เป็น ทุกขัง คือ เป็นทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไป และ
เป็น อนัตตา คือ ไม่เป็นไปตามความต้องการของเรา ไม่ถือเป็นตัวตนที่แท้จริง การพิจารณา ไตรลักษณ์จนรู้แจ้ง เป็น วิปัสสนาภาวนา และทำให้ตัดอวิชชาได้ ทำให้ตัดวัฏฏสงสาร ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

....ถ้าจิตสงบจากการเพ่งกสิณ จนเป็นสมาธิตั้งมั่น แต่ก็พอใจอยู่แค่นั้น มีความสุขอยู่ในสมาธิ เพราะสมาธิก็มีความสุขมาก และไม่ดำเนินจิตต่อไปพิจารณาไตรลักษณ์ คือ ไม่เจริญปัญญาหรือวิปัสสนาต่อ จิตก็จะเป็นเพียงสมถภาวนา เมื่อสิ้นชีพจะไปเกิดเป็นพรหม เมื่อหมดบุญก็กลับมาเวียนว่ายตายเกิดต่อไปดังเช่น พระอาจารย์ของพระพุทธองค์คือ ท่าน อุทกดาบส และ อาฬารดาบส

....สมาธิ จาการเพ่งกสิณ จะน้อมไปเจริญปัญญต่อหรือไม่ก็ได้ แต่สมาธิที่ได้จากการเจริญ
สติปัฏฐานสี่ จะได้ทั้งสมาธิและปัญญา คู่กันไปเสมอ สติปัฏฏฐานสี่ จึงเป็นทางสายเอก สู่พระนิพพาน ถือเป็นภาคปฎิบัติของ สมถะและวิปัสสนา มีค่ามากแม้ในชื่อจะมีสี่อย่าง (สี่อย่างนี้ ในรายละเอียดมากกกว่านี้ มีเป็นสิบอย่าง) แต่ถ้าปฎิบัติเพียงอย่างเดียว เหมือนได้ทำทั้งหมดจึงถือได้ว่า สติปัฏฏฐานสี่ เป็นหัวใจของการภาวนา


....ตัวอย่างของสติปัฏฐานสี่ ได้แก่ อานาปานสติ หรือากรเจริญสติ การมีสติ รู้ลมหายใจ กายานุสติ การมีสติ พิจารณาร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นความเคลื่อนไหว อิริยาบถ (เช่น ยุบหนอ พองหนอ) หรือ จิตตานุสติ การเจริญสติ ดูจิตใจของตนเอง เมื่อเกิดนามธรรมใดๆ ในใจก็ให้รู้ทัน ไม่หลงตาม ไม่ยึดมั่น เป็นต้น










.



Friday, January 1, 2010

บทสวดมนต์...ธัมมจักกับปปวัตตนสูตร




......เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ ธ.ค.๒๕๕๒ ได้ไปร่วมทำบุญเลี้ยงพระ (ที่วัดปากน้ำฝั่งใต้ อยู่ ซ.จรัลสนิทวงศ์ ๑๓) ตอนนั่งสนทนากัน (๘ คน) พระท่านได้นำซีดี สวดมนต์มาให้ดู เรานั่งอยู่ข้างหลังได้ยินคำว่า บทสวด "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ...พอกลับถึงที่พักก็เลยมาหาบทสวดและคำแปลของบทสวดมนต์นี้


......การสวดมนต์นั้นก่อให้เกิดอานิสงส์ ที่จะไล่ความขี้เกียจ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม
ง่วงนอนเกียจคร้าน ทำให้เกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉง จิตเป็นสมาธิ ที่จะต้อง
สำรวมใจ และเมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในใจก็บังเกิดขึ้น การสวดมนต์
โดยที่รู้คำแปล รู้ความหมายนั้น ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญา กล่าวคือ เวลาสวดหาก
พิจารณาคิดตามไปด้วย ก็จะทำให้เกิดปิติ เกิดสมาธิ และเกิดปัญญา ซึ่งนับเป็นการ
ปฏิบัติที่ถูกต้องและสมบูรณ์ ผู้ใดสวดมนต์หรือฟังสวด และเข้าใจตามไปด้วย นับว่า
ได้บุญถึงสองชั้น คือ เป็นการประกาศพระธรรมและสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนา
ให้ยืนยาวและมั่นคงตลอดไป
.

.

หันทะ มะยัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตะปาฐัง ภะณามะ เส

(พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงเริ่มวางหลักธรรม ก่อนเรื่องอื่น)

.
.
.

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ
ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ


ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟัง และพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ


เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ


โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค *โน (ถ้ามีการตรวจคำหยาบ ตรงนี้ให้ออกเสียงว่า ฮีโน..นะคะ) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต
การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ )


เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง


จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ


กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร?


อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ


เสยยะถีทัง
ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ


- สัมมาทิฏฐิ
ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ )


- สัมมาสังกัปโป
ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน )


- สัมมาวาจา
วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล )


- สัมมากัมมันโต
การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ )


- สัมมาอาชีโว
การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี )


- สัมมาวายาโม
ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป )


- สัมมาสะติ
การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )


- สัมมาสะมาธิ ฯ
การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ
( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )


อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ


อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ


- ชาติปิ ทุกขา
ความเกิดก็เป็นทุกข์


- ชะราปิ ทุกขา
เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์


- มะระณัมปิ ทุกขัง
เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์


- โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์


- อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์


- ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์


- ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์


- สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ


อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง


โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา
คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์


ภะวะตัณหา
สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์


วิภะวะตัณหา
และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ


อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ


อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่งแท้จริง ฯ


อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ


อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะ*นันติ (ให้อ่านว่า ปะฮีนันติ..Amine) เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ


อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ


อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ


ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ


( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ )

1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง

2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ

3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว )



เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ


ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ


อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ


ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว" ฯ


อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ


อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ


อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล


อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ฯ
ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ


ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล


ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า


"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้"


ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ


จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ


ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ


ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ


ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ


นิมมานะระ*ง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ


ปะระนิมมิตะวะสะวัต*ง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า


"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ


อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ


อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ


อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ


อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ" ฯ
ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว)


อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ






..................................................................

จากหนังสือ "สวดมนต์แปล" วัดจันทาราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี











.

Saturday, December 19, 2009

เทคนิคการทำงาน : เงินทองของ...ฟรีแลนซ์

เทคนิคการทำงาน : เงินทองของ...ฟรีแลนซ์


เงินทองของ..ฟรีแลนซ์......ต้องนึกไว้เสมอว่า “ฟรีแลนซ์” ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเหมือนพนักงานบริษัท เพราะฉะนั้นต้องออมระยะยาวด้วยตัวของเราเอง
.
“ฟรีแลนซ์” อาชีพยอดฮิตแห่งยุคสมัย ของผู้คนที่โหยหาความอิสระและผลตอบแทนงามๆ ไม่ต้องทำงานซ้ำซากจำเจ หรือเข้างานเป็นเวลาเหมือนมนุษย์เงินเดือน
.
ทุกวันนี้จึงมีคนหนุ่มสาวจำนวนไม่น้อย ที่ตัดสินใจเดินออกจากบริษัทและองค์กร เพราะต้องการที่จะใช้ชีวิตอย่างอิสระ และประกอบอาชีพที่ตัวเองเลือก ไม่ว่าจะเป็นช่างภาพ ช่างแต่งหน้า หรือคนเขียนการ์ตูน
.
ฟังดูเหมือนเข้าที แต่เสียงสะท้อนจากผู้ที่ยึดอาชีพนี้ต่างบอกว่า รายได้ดีก็จริง แต่ทำไมหนอ เงินทองที่หามาได้ กลับเก็บไม่ค่อยได้เอาซะเลย บัญชีเงินฝากยังว่างโล่ง
.
ถ้าเป็นอย่างนี้ ปัญหาของผู้ยึดอาชีพฟรีแลนซ์นี้อยู่ตรงไหน และพวกเขาควรจัดการเงินทองอย่างไรดี ถึงจะทำให้การดำเนินอาชีพอิสระเป็นไปอย่างราบรื่นถึงบั้นปลายของชีวิต
.
ยิ่งเป็นฟรีแลนซ์ ยิ่งต้องวางแผนการออมและจัดการเงินทองที่รัดกุมกว่ามนุษย์เงินเดือน!!
.
ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพราะการเป็นพนักงานบริษัทหรือเจ้าหน้าที่ขององค์กรนั้น ยังมีสวัสดิการ และช่องทางการออมในรูปแบบต่างๆ ที่จะช่วยทำให้การจัดการเงินทองของคุณนั้นง่ายขึ้น
.
ส่วนฟรีแลนซ์นั้น รายได้เข้ามาไม่แน่นอน แม้จะมีสิทธิเลือกงานได้มากกว่าคนอื่น แต่งานที่เราชอบอาจไม่ได้เข้ามาตลอด เพราะฉะนั้น เมื่อทำงานและมีรายได้เข้ามาก็ควรเก็บออมไว้และใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง
.
สำหรับคนที่เป็นฟรีแลนซ์ “รายได้” จึงเป็นตัวแปรสำคัญ ฟรีแลนซ์บางคนมีคนมารอเข้าคิวจ้างเต็มไปหมด รายได้อาจจะมากกว่ามนุษย์เงินเดือนเสียด้วยซ้ำ ยิ่งถ้าเป็นพวกศิลปินนักแสดงก็ยิ่งมีรายได้เยอะมีอิสระในการเลือกทำงานได้อย่างเต็มที่ สิ่งที่ต้องระวังคือ ความไม่สม่ำเสมอของรายได้เท่านั้นเอง บางคนมีรายได้เป็นวัน ถ้าดูแลเงินไม่ดีเงินก็อาจใช้หมดภายในวันเดียว
.
หากคุณเป็นหนึ่งในบรรดาฟรีแลนซ์ที่ยังจัดการเงินทองยังไม่ลงตัวเสียที ลองจัดการตามนี้ดูเผื่อว่ากระเป๋าสตางค์ของคุณจะหนาและหนักขึ้นบ้าง
.
.
๐ จดทุกรายละเอียด
.
ก้าวแรกในการวางแผนการเงินของฟรีแลนซ์ ควรเริ่มต้นจากการจดรายละเอียดรายได้ทุกอย่างที่ได้รับ เพราะโดยปกติอาชีพฟรีแลนซ์มักมีรายได้เข้ามาไม่แน่นอน บางคนได้ทุกวัน บางคนได้สัปดาห์ละครั้ง ขณะที่บางคนได้เดือนละหลายครั้ง ฟรีแลนซ์หลายคนเมื่อได้เงินมาจึงใช้จ่ายหมดไปโดยไม่รู้ตัว
.
สิ่งที่ควรทำเมื่อเริ่มต้นจัดการเงินทองคือ จดรายได้ที่ได้รับในแต่ละวันหรือแต่ละครั้ง เพื่อที่จะได้รู้ว่าในแต่ละเดือนเรามีรายได้เท่าไหร่
.
ช่างแต่งหน้าบางคนทำงานชั่วโมงเดียวได้เงิน 1,000 บาท คิดดูว่าแค่รับงานวันละ 3-4 เจ้าก็ได้หลายพันแล้ว รายได้จึงดีกว่ามนุษย์เงินเดือนอีก แต่ปัญหาของพวกนี้คือ เมื่อได้มาก็ใช้ไปอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง เงินก็หมดไปโดยไม่รู้ตัว ความจริงถ้าจดลงไปว่าวันนี้เราได้มาเท่าไหร่ พรุ่งนี้ได้เท่าไหร่ ในเดือนหนึ่งเราก็จะรู้ว่าเดือนนี้มีรายได้เท่าไหร่ และถ้าจะให้ดีคือ จดไว้ด้วยว่าในแต่ละเดือนเราได้ใช้จ่ายอะไรไปบ้าง จะได้รู้ว่านิสัยการใช้จ่ายเราเป็นอย่างไร
.
.
๐ ออมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

เพราะธรรมชาติของฟรีแลนซ์นั้นคือ การมีรายได้ที่ไม่นอน อนาคตของพวกเขาจึงเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนตามไปด้วย การรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต บรรดาฟรีแลนซ์จึงควรตั้งหน้าตั้งตาออมให้มากที่สุด และออมเท่าที่จะมากได้
.
มนุษย์เงินเดือนทั่วไปอาจจะออมเดือนละ10-30 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ แต่สำหรับฟรีแลนซ์นั้น ถ้าเป็นไปได้ให้กันรายได้มาออม 50 เปอร์เซ็นต์ ทันทีที่ได้รับเงิน ที่เหลือค่อยจับจ่ายใช้สอย ถ้าทำแบบนี้ได้ถือว่าเป็นการสร้างวินัยในเบื้องต้น ขณะเดียวกันในแง่ของการจับจ่ายใช้สอย ก็ต้องทำไปอย่างระมัดระวัง ไม่ใช่ใช้จ่ายเพลินมือ
.
อย่าลืมนะ ว่าในแต่ละเดือนคุณยังไม่แน่ใจว่ารายได้จะมีเข้ามาเท่าไหร่ เดือนนี้อาจจะมากเดือนหน้าอาจจะน้อย หรือบางเดือนอาจจะแทบไม่มีเข้ามา ดังนั้นสิ่งที่คุณควรทำอย่างยิ่งคือ เมื่อมีรายได้รับเข้ามาเท่าไหร่ให้ออมไว้เลยครึ่งหนึ่ง อย่างน้อยเงินที่คุณออมไว้ อาจจะไปช่วยเยียวยาอนาคตของคุณเองในกรณีที่บางเดือนอาจไม่มีรายได้เข้ามาเลย
.
.

๐ ปรับไลฟ์สไตล์การใช้จ่าย
.
เพราะไลฟ์สไตล์ของฟรีแลนซ์จำนวนไม่น้อย นิยมการเลี้ยงสังสรรค์และมีงานปาร์ตี้อยู่เป็นประจำ บางคนสังสรรค์สัปดาห์ละหลายวัน บางคนเมื่อได้เงินมาก็บินไปท่องเที่ยวในต่างประเทศทันทีที่มีเงินเข้ากระเป๋า การกิน ดื่ม เที่ยว และใช้ชีวิตอย่างอิสระเสรี จึงเป็นไลฟ์สไตล์ติดตัวฟรีแลนซ์จำนวนไม่น้อย
.
แต่เมื่อไหร่ที่คิดจัดการกับเงินทองอย่างจริงจัง จะต้องเริ่มจากการปรับไลฟ์สไตล์อย่างเอาจริงเอาจัง เช่น ลดความถี่ของการสังสรรค์ลงบ้าง ในที่สุดก็จะทำให้มีเงินเหลือพอที่จะเก็บได้ เพราะรายจ่ายอาจจะลดลงไปประมาณ 25 เปอร์เซ็นต


๐ ทำประกันเพื่ออนาคต
.
การทำประกันเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่คุณสามารถทำได้ ไม่ใช่เพื่อใครแต่เพื่ออนาคตของตัวคุณเอง ในแง่ของการออมนั้น นอกจากฝากเงินกับธนาคาร สิ่งที่ฟรีแลนซ์ควรทำคือ จัดสรรเงินไว้ทำประกัน เพราะในอนาคตไม่มีอะไรเป็นหลักประกันชีวิตเหมือนพนักงานบริษัทหรือข้าราชการทั่วไป
.
ซึ่งประกันในปัจจุบันมีให้เลือกหลายแบบ อาจจะเลือกทำแบบสะสมทรัพย์เพื่อชีวิตในบั้นปลายก็ได้ หรือจะทำแบบที่สามารถคุ้มครองในยามเจ็บไข้ได้ป่วย
.
.

๐ ลงทุนเพื่อบั้นปลายชีวิต
.
นอกเหนือจากการออมเงินในแบบพื้นฐาน เช่น การฝากแบงก์หรือทำประกันแล้ว ควรจะลงทุนในรูปของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) เพราะกองทุนพวกนี้อย่างน้อยเป็นการออมและลงทุนที่ช่วยประหยัดภาษี แถมทำให้ชีวิตในวัยเกษียณอยู่อย่างสุขสบาย
.
ต้องนึกไว้เสมอว่า ฟรีแลนซ์ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเหมือนพนักงานบริษัท เพราะฉะนั้นต้องออมระยะยาวด้วยตัวของเราเอง อะไรที่เป็นช่องทางให้ออมในระยะยาวได้ก็ควรทำ เช่น ลงทุนในกองทุน LTF กับ RMF อย่างละ 15 เปอร์เซ็นต์ รวมกันแล้วก็ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของรายได้
.
.

๐ ก่อหนี้ให้น้อยที่สุด
.
กฎการเงินอีกข้อหนึ่งสำหรับฟรีแลนซ์ คือควรจะก่อหนี้ให้น้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นหนี้ที่เกิดจากอะไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นกู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ สินเชื่อบุคคล หรือเงินด่วน เพราะความที่รายได้ไม่แน่นอน หากสร้างหนี้ไว้มาก มีภาระต้องผ่อนชำระมาก แต่รายได้ในบางเดือนอาจไม่เพียงพอต่อการชำระ จนในที่สุดกลายเป็นหนี้เสีย และเสี่ยงต่อการที่ชื่อของคุณจะถูกขึ้นบัญชีดำอยู่ในเครดิตบูโรเปล่าๆ
.
สำหรับฟรีแลนซ์ทั้งหลายที่อยากจัดการเงินทองอย่างจริงจัง แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนดี ลองหยิบเคล็ดลับเหล่านี้ไปใช้ รับรองว่าถนนสายการออมของคุณจะราบรื่นขึ้นเยอะ " ความจริงการเป็นฟรีแลนซ์มีข้อดีข้อเสียคละเคล้ากันไป ถ้ามองในแง่ของการเป็นหนี้นั้น พวกฟรีแลนซ์มักจะไม่ได้รับการนำเสนอจากพวกบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นพวกบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล หรือแม้กระทั่งจะกู้ซื้อรถบางทีก็กู้ได้แค่ 70-80% ขณะที่พวกมนุษย์เงินเดือนมีแต่พวกบัตรเครดิต เงินด่วนไปนำเสนอ เวลาจะกู้ซื้อรถก็ได้เกือบ 100% ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ฟรีแลนซ์มีโอกาสสร้างหนี้ได้น้อยกว่าพวกมนุษย์เงินเดือน"
.
.
.
ที่มา : จาก จัดระเบียบการเงินให้อยู่หมัด โดย กาญจนา หงษ์ทอง
.
.
.
.
.
.
.

Wednesday, December 16, 2009

อาชีพช่างแต่งหน้า Make-up Artist




ช่างแต่งหน้า { Make-up Artist }

มีคำๆ หนึ่ง หรืออีกสายอาชีพหนึ่ง มาเล่าสู่กันฟัง ในสังคมที่เราอาศัยอยู่ มีอยู่หลายสาขาอาชีพ ซึ่งแต่ละสาขาอาชีพ ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญ แตกต่างกันไปแล้วแต่ละสายงาน ควรจะให้เกียรติ์ ซึ่งกันและกัน ซึ่งบ่อยครั้งที่ในความแตกต่างของสายงาน ต้องมาเกียวเนื่องกัน เพื่อให้หนึ่ง Project สำเร็จลุล่วง แต่ละสาขา อาชีพล้วนแล้วแต่ ต้องอาศัย ทักษะ และความชำนาญ


การแต่งหน้า มิใช่เพียงสักแต่การเอาสีมาป้ายๆๆ บนใบหน้าแค่นั้น


หลักสูตร การแต่งหน้าเบื้องต้น

สิ่งคนเป็นช่างแต่งหน้า ควรรู้ หรือผ่านการอบรม เป็นหลักสูตรเพื่อการเป็นช่างแต่งหน้า ซึ่งจะละเอียดกว่าการแต่งหน้าสำหรับตนเอง

  1. ทฤษฎีผิว...ปัญหาของผิวพรรณ และการดูแลรักษา
  2. ขั้นตอนการดูแลผิว อย่างถูกวิธี
  3. โครงสร้างและสัดส่วนของใบหน้า
  4. ทฤษฎีรองพื้น และการใช้รองพื้นชนิดต่างๆ
  5. การแก้ไขรูปหน้า ในขั้นตอนของการใช้ครีม แรเงา แก้ไขจุดบกพร่องบนใบหน้า
  6. การแก้ใขรูปหน้า ในขั้นตอน การแต่งคิ้ว ตา แก้ม ปาก การใชสีสันบนใบหน้า ให้เข้ากับสีของเสื้อผ้า
  7. การแต่งหน้าเจ้าสาว

การทำงานของช่างแต่งหน้า ในสายงานธุรกิจบันเทิง
การเรียน หรือ อบรม ในหลักสูตรการแต่งหน้า ธุรกิจบันเทิง ต้องผ่านหลักสูตรการแต่งหน้า ขั้นต้นมาก่อน การทำงานของช่างแต่งหน้า ในสายงานธุรกิจบันเทิง จะแตกต่างกับการแต่งหน้าโดยทั่วไป คือ การแต่งหน้าสวยงามทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการแต่งหน้าเจ้าสาว การแต่งหน้าบัณฑิต หรือการแต่งหน้าเพื่อเข้าสังคมต่างๆ ซึ่งเป็นการทำงานระหว่างช่างแต่งหน้า กับผู้ว่าจ้างเท่านั้น


แต่การทำงานในแวดวงธุรกิจบันเทิง จะเป็นการทำงานร่วมกันหลายฝ่าย มีข้อจำกัดและกฎเกณฑ์ต่างๆมาเกียวข้องมากกว่าปกติ ซึ่งช่างแต่งหน้าจะต้องศึกษาลักษณะงานในแต่ละประเภท เพื่อความพร้อมก่อนการปฎิบัติงาน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยของการทำงานในสายงานธุรกิจบันเทิงทุกประเภท เช่น การแต่งหน้าเพื่อการถ่ายทำละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา รายการโทรทัศน์ การถ่ายทำภาพนิ่ง แฟชั่นโชว์ ละครเวที รวมถึงนิตยสาร และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ ซึ่งแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน


หลักสูตรการแต่งหน้า สำหรับธุรกิจบันเทิง

  1. การเลือกสีรองพื้นสำหรับการแต่งหน้าเข้ากล้อง
  2. Documentary Make-up
  3. Straight Make-up
  4. Clean Beauty Make-up
  5. Glamour Beauty Make-up
  6. Stage Make-up
  7. การแต่งหน้าสำหรับละครเวที
  8. การแต่งหน้าอ้างอิงวัฒนธรรม
  9. ทฤษฎีการแต่งหน้าตามยุคแฟชั่น

ตย.









ละครไทย (โขน)
















ละครไทย (โขน)


แต่งหน้าอ้างอิงวัฒนธรรม (งิ้ว)

Clean Beauty Make-up


ซึ่งนอกจากนี้ ก็อยู่ที่ Tips และเทคนิค ของช่างแต่งหน้า แต่ละคนที่จะนำมา Apply ใช้แล้วแต่ประสบการณ์ และทักษะของช่างแต่งหน้า ซึ่งหากต้องการศึกษา ให้ลึกไปกว่านี้ จะมีหลักสูตรเฉพาะทางเพิ่มอีก นั่นคือ

การเรียนหรือ อบรม ให้ลึกไปอีก เป็นเฉพาะทาง ก็ต้องผ่าน การแต่งหน้าเบื้องต้น และหลักสูตรธุรกิจบันเทิงมาก่อน

.

หลักสูตรการแต่งหน้า เทคนิคพิเศษ

  • Special effect Make-up
  • Body Paint Make-up



แต่งหน้าเทคนิคพิเศษ

แต่งหน้าเทคนิคพิเศษ















แต่งหน้าเทคนิคพิเศษ

ซึ่งเป็นเนื้อหาทักษะ ที่ต้องมีพื้นฐานการ การแต่งหน้าเบื้องต้น และ การแต่งหน้าเพื่อธุรกิจบันเทิงมา ก่อน ทั้งหมดนี้ เป็น Contents หัวเรื่องที่ช่างแต่งหน้า อาชีพต้องรู้ ยังมีรายละเอียดอีกเยอะรวมถึงประสบการณ์ และการเรียนรู้เพิ่มเติม สิ่งใหม่ๆๆ อยู่เสมอด้วย



.

.

เขียนโดย : Miss Naowarat KS. (Kob)

http://mine-independent.blogspot.com/
.

.

.

.

.

วิธีทำบุญง่ายๆ ตามภาษาคน(ไม่ค่อย) มีเวลา




วิธีทำบุญง่ายๆ สำหรับคนไม่มีเวลา สามารถทำได้ทุกวัน
โดยได้บารมี ๑๐ ทัศ ครบถ้วนบริสุทธิ์ บริบูรณ์

พูดถึงเวลาถ้าเราทำบุญ คนส่วนใหญ่มักนึกถึงการ ตักบาตรหรือเข้าวัดทำบุญ เป็นส่วนมาก ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่มีเวลา ก็เลยเสียโอกาสในการสั่งสมบุญ บารมี


วันนี้จึงมีเรื่องมาเล่าให้ทุกๆท่านได้อ่านและพิจารณากัน เผื่อจะได้แง่มุมใหม่ๆในการสร้างบุญกุศล สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลา หรือมีเวลาทำเป็นปกติอยู่แล้ว แต่มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยให้ได้อ่านเพื่อจะได้เข้าใจว่า ถ้าเราทำอย่งที่บอกต่อไปนี้ เราจะได้อะไรบ้าง ?

๑.) หา กระปุกออมสิน หรือ บาตรพลาสติก ( ร้านสังฆทานต่างๆจะมีขาย ) หรือภาชนะที่สะดวก ในการหยอดเงิน นำมาวางไว้ที่ในห้องพระ หรือหิ้งพระ สำหรับคนที่อยู่คอนโด หรืออพาร์ทเม้นต์ ถ้าไม่มีห้องพระ ให้หารูปพระ มาติดที่ฝาผนังก็ได้



๒.) ทุกวันให้เราสละเวลา เพียงวันละประมาณ ๒๐-๓๐ นาที สวดมนต์
ไหว้พระเวลาไหนก็ได้ที่เราว่าง เราสบายใจ เช้า สาย บ่าย เย็น หรือก่อน
นอน โดยเริ่มจากบท


۞ คำบูชาพระ

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
(ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งต่อพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้)

อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
(ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งต่อพระธรรม ด้วยเครื่องสักการะนี้)

อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ
(ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งต่อพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะนี้)


۞ คำบูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
(กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ
(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ
(กราบ)


۞ นมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ


ระหว่างที่ตั้งนะโม ก็ให้เรานำเงินมา จบเอาไว้ในมือ จะกี่บาทก็ได้ ๕ บาท ๑๐ บาท หรือ ๒๐ บาท หรือจะมากกว่านั้นตามแต่ศรัทธา จากนั้นก็เริ่มสวด


۞ คำกล่าวบูชาไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


۞ บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

" อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ. "



( พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดย
พระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความประพฤติ) เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว (คือ ไปที่ใดยังประโยชน์ให้ที่นั้น) เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควารฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนก ธรรมสั่งสอนสัตว์ )



۞ บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ

" สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ " (ออกเสียงว่า วิญญูฮีติ)


( พระรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฎิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฎิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิดเป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน )



۞ บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย

อัญชะลีกะระนีโย อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ


( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฎิบัติดีแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฎิบัติตรงแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฎิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฎิบัติสมควรแล้ว ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ (คือ พระอริยบุคคล ๘ ) นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า )



* * * ถ้ามีเวลา ให้สวดบท


۞ พาหุงมหากา หรือ พุทธชัยมงคลคาถา
(ถวายพรพระ)


. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ


. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ


. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ


๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ


๕. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ


. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ


๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ


๘. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ


เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะ


สวดจบแล้วให้กลับมาสวด พระพุทธคุณ บทเดียว
เท่าอายุบวกหนึ่ง ( ให้สวดเกินอายุ ๑ จบ เช่น อายุ ๓๐ ปี ต้องสวด ๓๑ จบ )

* * * ถ้าไม่มีเวลา ให้กลับมาสวด บทพระพุทธคุณ บทเดียว
สวด ๙ จบ หรือ เท่าอายุบวกหนึ่ง



๓.) ต่อจากนั้น ตั้งสมาธิจิตสักระยะหนึ่ง แล้วอธิษฐานจิตจนเสร็จ จากนั้น
เอาเงินที่จบไว้ในมือ ใส่เข้าไปในภาชนะที่เตรียมไว้ที่หิ้งพระหรือโต๊ะหมู่บูชา หรือหน้ารูปพระ เสร็จแล้วอย่าลืม แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลทุกครั้งให้เจ้ากรรมนายเวร
ทำอย่างนี้ทุกวันอย่าให้ขาด


۞ แผ่เมตตาตัวเอง

อะหัง สุขิโต*(ตา) โหมิ
(ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข)

นิททุกโข*(ขา) โหมิ
(ปราศจากความทุกข์)

อะเวโร*(รา) โหมิ
(ปราศจากเวร)

อัพยาปัชโฌ*(ฌา) โหมิ
(ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง)

อะนีโฆ*(ฆา) โหมิ
(ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ)

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
(มีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด)

* หญิงเปลี่ยนจาก โต เป็น ตา ,โข เป็น ขา ,โร เป็น รา ,โฌ เป็น ฌา
* หญิงเปลี่ยนจาก โฆ เป็น ฆา



۞ คาถาแผ่เมตตา (แผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย)

สัพเพ สัตตา
(สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น)

อะเวรา โหนตุ
(จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย)

อัพพะยาปัชฌา โหนตุ
(จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย)

อะนีฆา โหนตุ
(จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย)

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
(จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ)



๔.) หลังจากนั้น เราก็จะได้บารมีครบถ้วน เพียงแค่สวดมนต์ไม่กี่นาที และสิ่งเหล่านี้ก็จะสะสมในใจเราทีละน้อย เหมือนกับเราเก็บเงินวันละ บาท ๑๐ วันก็ได้ ๑๐ บาท แต่ถ้าเราไม่ทำอะไร เราก็จะไม่ได้อะไรเลย
แล้วเงินที่เราหยอดทุกวัน ที่ได้จากการสวดมนต์ ก็เหมือนเราตักบาตรทุกวัน โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
เมื่อมีโอกาสเข้าวัด หรือจะไปทำบุญตามสถานที่ต่างๆ เราก็นำเงินนั้นแหละไปทำบุญ หยอดตู้ ใส่ซอง
ทำให้จิตของเราติดอยู่กับบุญกุศล ทุกวัน และเราก็จะได้



บารมีครบถ้วน ๑๐ ประการมีดังนี้

๑. ทานบารมี = ขณะที่เราสวดมนต์เสร็จ
เราทำทานคือเอาเงินที่จบใส่ใน กระปุกออมสิน หรืออื่นๆ เป็น ทานบารมี

๒. ศีลบารมี = ขณะที่เราสวดมนต์อยู่
ในขณะนั้นเราไม่ได้ทำบาปกรรมกับใคร มีศีลอยู่ในขณะที่สวดมี ศีลบารมี

๓.เนกขัมมบารมี = ขณะที่เราสวดมนต์อยู่ จิตของเราปราศจาก นิวรณ์
มารบกวนจิตใจ ถือว่าเป็นการบวชใจ ถือว่าเป็น เนกขัมมบารมี

๔. ปัญญาบารมี = การสวดมนต์ทำด้วยความศรัทธา ทำด้วยปัญญาที่เห็นว่า
มันเป็นประโยชน์ช่วยฝึกฝนให้เกิดสติ มีสมาธิเป็น ปัญญาบารมี

๕. วิริยะบารมี = ถ้าเราไม่มีความเพียร เราก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นความ
เพียรเป็น วิริยะบารมี

๖. ขันติบารมี = มีความเพียรแล้ว ไม่มีความอดทน ความเพียรก็ตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะฉะนั้นต้องมีความอดทน ความอดทนเป็น ขันติบารมี

๗. สัจจะบารมี = มีความเพียร มีความอดทนแล้ว และมีความจริงใจ
ในการประพฤติปฏิบัติ ซึ่งความจริงใจคือ สัจจะบารมี

๘. อธิษฐานบารมี = เมื่อเราสวดมนต์เสร็จ ทำสมาธิ ตั้งจิตอธิฐาน
การอธิฐานเป็น อธิษฐานบารมี

๙. เมตตาบารมี = ใส่บาตร สวดมนต์เสร็จ ก็ต้องแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล
การแผ่เมตตาเป็น เมตตาบารมี

๑๐. อุเบกขาบารมี = ขณะที่แผ่เมตตา เราต้องทำใจของเราให้มีเมตตา
ต่อสัตว์ทั้งหลาย ทำใจให้เป็นพรหมวิหาร ๔ อุเบกขา วางเฉย
อโหสิกรรม กับบุคคลที่เราเคยล่วงเกินกันมา ไม่โกรธใคร ไม่เกลียดใคร
ไม่ชอบใคร ไม่ชังใคร ทำใจให้นิ่ง ทำจิตให้สงบ วางใจให้เป็นอุเบกขา
เป็น อุเบกขาบารมี


เห็นมั๊ยค่ะ เพียงแค่เราสละเวลา อันน้อยนิด เราก็ได้บารมีครบถ้วนบริสุทธิ์
บริบูรณ์ ซึ่งมีผู้ที่ปฏิบัติทุกวันบอกว่า ถ้าเราสละเวลาทำทุกวันจะทำให้ท่าน
มีสมาธิ และมีสติดีขึ้น มีอารมณ์เยือกเย็นและมีอารมณ์ดี อารมณ์เดียว
จะคิดจะทำอะไร ไม่ติดขัด ...



ขออนุโมทนาสาธุการ กับทุกท่านค่ะ


ที่มา : อ่านเจอในหนังสือ บทสวดมนต์ ทำวัตรเช้า - เย็น





บางช่วงไม่มีสมาธิเอาเสียเลย.....เลยพยายามหาวิธีให้นิ่ง
ไปเจอข้อปฎิบัตินี้ เพื่อนๆ บางคนอาจจะปฎิบัติอยู่แล้ว
แต่ก็ขอนำมาฝากเพื่อนๆ ด้วย
การไหว้พระสวดมนต์ เป็นการบำเพ็ญภาวนาอย่างหนึ่ง
และยังเหมาะสำหรับ การเตรียมตัวก่อนปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ด้วย