Tuesday, March 6, 2007

พระคาถาชินบัญชร


พระคาถาชินบัญชร


คาถาบูชาสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกลาย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ


การหัดสวดพระคาถาชินบัญชร ควรจะเริ่มสวดในวันพฤหัสบดีซึ่งถือเป็นวันครู และให้เตรียมดอกไม้ ๓ สี หรือดอกบัว ๙ ดอก หรือดอกมะลิ ๑ กำ ธูป ๓ , ๕ ถึง ๙ ดอก เทียน ๒ เล่ม จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย โดยการตั้งนะโม ๓ จบ ต่อด้วยบท พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จากนั้นตั้งจิตนึกถึงสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สวดพระคาถาชินบัญชรเพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้นก่อนเจริญภาวนาชินบัญชร ตั้งนะโม ๓ จบก่อน
แล้วนึกถึงสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)


۞ เริ่มสวดนะโม ๓ จบ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

คำแปล
( ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์พระองค์นั้น
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง )



۞ บทพระพุทธคุณ

อิติปิโสภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชา จะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

คำแปล
(สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ดีโดยชอบด้วยพระองค์เอง
ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คือความรู้และความประพฤติ
เสด็จไปดี คือไปในที่ใด ยังประโยชน์ให้ที่นั้น ทรงรู้แจ้งโลก
ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก หาผู้อื่นเปรียบมิได้
ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ทรงเป็นผู้ตื่น ทรงเป็นผู้แจกจ่ายธรรมะ)



۞ บทพระธรรมคุณ

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก
อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ

คำแปล
(พระธรรม อันสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสดีแล้ว
อันผู้ปฏิติเห็นชอบได้ด้วยตนเอง
ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ควรเรียกมาดูได้
ควรน้อมเข้าไปหา อันผู้รู้พึงรู้ได้ ด้วยตนเอง)



۞ บทพระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ
ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุไนยโย ปาหุไนยโย ทักขิไนยโย อัญชลี กะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

คำแปล
(พระสงฆ์สาวกของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นปฏิบัติดีแล้ว
เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความรู้ เป็นผู้ปฏิติชอบ
จัดเป็นบุรุษ ๔ คู่, เป็นบุคคล ๘
เป็นผู้ควรบูชา เป็นผู้ควรรับทักษิณา
เป็นผู้ควรทำกราบไหว้ เป็นเนื้อนาบุญของโลก, หาสิ่งอื่นเปรียบมิได้ )



۞ นึกถึงสมเด็จโต แล้วตั้งจิตอธิษฐาน

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน

ท้าวเวสสุวัณโณ มะระณังสุขัง
อะระหัง สุคะโต นะโมพุทธายะ



۞ เริ่มสวดบทพระคาถาชินบัญชร

๑.) ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา


๒.) ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐาวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา


๓.) สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโล
จะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร


๔.) หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก


๕.) ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ
ราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโน อุภาสุง วามโสตะเก


๖.) เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภีโต มุนิ ปุงคะโว


๗.) กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร


๘.) ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะอิเมชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ


๙.) เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชินโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา


๑๐.) ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุต
ตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง


๑๑.) ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา


๑๒.) ชินา นานา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลัง
กาตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา


๑๓.) อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะเสโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร


๑๔.) ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสา สะภา


๑๕.) อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะวาโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิชินะปัญชะเรติ.



...........................................................................................







คำแปล

๑.) พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์
ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ
อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

๒.) มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

๓.) ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ
พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

๔.) พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา
พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง

๕.) พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา
พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

๖.) มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง
อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

๗.) พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ
มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

๘.) พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี
พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

๙.) ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส
เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน
รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

๑๐.) พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา
พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง

๑๑.) พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร
เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

๑๒.) อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง
สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

๑๓.) ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ
เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม
แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน
อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น
เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

๑๔.) ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น
จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล

๑๕.) ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม
จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า
ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ
แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ

.

.

.

No comments: